ในแวดวงของการเกษตรแล้วก้คงจะรู้จักปุ๋ยยูเรียกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นปุ๋ยที่อยู่คู่เกษตรกรรมไทยมายาวนาน โดยปุ๋ยยูเรีย คือปุ๋ยที่เป็นสารอินทรีย์สงเคราะห์ มีส่วนประกอบของไนโตรเนที่สูง ทั้งยังมีหลายชนิดหลายชื่อเรียก รวมถึงยังมีแบบเม็ดโฟมละเม็ดเล็ก ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานนั่นเอง  สูตรมาตรฐานของปุ๋ยยูเรียคือ คือ 46-0-0 ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากใช้เกินปริมาณที่กำหนด อาจจะส่งผลไม่มีต่อผลผลิตและตัวเกษตรกรเอง 

คุณสมบัติทั่วไปของปุ๋ยยูเรีย

แม้ว่าปุ๋ยยูเรียจะเป็นสารอินทรีย์แต่ก็ได้มาจากการสังเคราะห์ จึงสามารถกำหนดสัดส่วนของปริมาณธาตุอาหารได้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับปุ๋ยเคมีทั่วไป โดยสูตรมาตรฐานของปุ๋ยยูเรียคือ 46-0-0 และมีปริมาณธาตุไนโตรเจนประมาณ 45-46.6 เปอร์เซ็นต์เทียบกับน้ำหนัก ลักษณะทั่วไปของปุ๋ยยูเรียจะเป็นผลึกสีขาว จะบอกว่าไร้กลิ่นเลยก็คงไม่ได้ แต่เป็นกลิ่นเฉพาะตัวที่ค่อนข้างบางเบา มีคุณสมบัติดูดความชื้นในอากาศได้ดี จุดหลอมเหลวต่ำ ละลายน้ำได้ดีมากและละลายในแอลกอฮอล์ได้ด้วย หากวางทิ้งไว้ในสภาวะเปิดโล่งก็อาจจะทำให้เม็ดปุ๋ยมีอาการเหนียวเยิ้มขึ้นมาพร้อมกับได้กลิ่นแอมโมเนียชัดเจน

ประเภทของปุ๋ยยูเรีย

1. ปุ๋ยยูเรียชนิดเม็ดโฟม

จะมีขนาดของเม็ดอยู่ที่ 2-4 มิลลิเมตร มีสีขาวลักษณะเหมือนเม็ดโฟม ปุ๋ยยูเรียชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เกษตรกรไทย เหมาะกับการหว่าน อีกทั้งยังสามารถใช้กับเครื่องพ่นปุ๋ยทั่วไปก็ได้ ตัวปุ๋ยยูเรียชนิดนี้จะเป็นแม่ปุ๋ยหลักไนโตรเจน ซึ่งการนำมาใช้นั้นจะต้องนำไปใช้ร่วมกับแม่ปุ๋ยชนิดอื่นๆ เช่น ปุ๋ยแดป ปุ๋ยม็อป ให้นำมาคลุกเคล้ากัน เพื่อให้ปุ๋ยนั้นเสมอกัน 

2. ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเรียกว่าปุ๋ยเม็ดสาคู

เป็นปุ๋ยยูเรียขนาดเล็ก ขนาด 1-3 มิลลิเมตร มีสีขาวใสเหมือนเม็ดสาคู ในไทยจะนิยมใช้ในทางเกษตรน้อยกว่าปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม แต่ปุ๋ยเม็ดเล็กนี้จะเหมาะกับการใส่ต้นไม้เหมือนกับปุ๋ยเม็ดโฟม เพียงแต่ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กนั้นยังไม่เป็นที่คุ้นเคยมากนัก ข้อเสียของปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กคือจะไม่สามารถใช้กับบัลค์ปุ๋ยได้ เพราะมีขนาดที่เล็กเกินไป 

ประโยชน์ของปุ๋ยยูเรีย

1. ใช้เร่งการเจริญเติบโตของพืช

2. ใช้เป็นส่วนผสมในการกำจัดศัตรูพืช

3. ใช้เป็นแหล่งโปรตีนให้กับสัตว์เคี้ยวเอื้อง

4. ใช้เป็นตัวช่วยในการเตรียมยา สำหรับวงการแพทย์

5. ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ทั้งยูเรียเรซิน ไซคลิกยูเรียเรซิน เมลามินเรซิน และสารเคมีสำคัญอีกหลายชนิด ล้วนต้องใช้ยูเรียเป็นส่วนหนึ่งของสารตั้งต้น

มาถึงตรงนี้แล้วก็คงจะได้รู้จักกับปุ๋ยยูเรียมากขึ้นแล้ว แต่สำหรับเกษตรกรแล้วคงจะรู้จักปุ๋ยยูเรียกันดีอยู่แล้ว รู้ว่าพืชแบบไหนเหมาะกับปุ๋ยยูเรียประเภทไหน แต่ถ้าอยากได้ปุ๋ยยูเรียในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปต้องที่ Lazada เท่านั้น สั่งก็ง่าย ส่งก็ไม่นาน สั่งแล้วก็รอรับที่บ้านได้เลย